เมนู

ได้รับความสุขโดยส่วนเดียว ส่วนมนุษยโลก มีความสุขและความทุกข์
ระคนกัน ในมนุษยโลกนี้เท่านั้น ย่อมมีทั้งอบายและสวรรค์ปรากฏ.
นี้ ชื่อว่า เป็นกรรมภูมิ ของมรรคพรหมจรรย์. กรรมภูมินั้น พวกท่าน
ได้แล้ว เพราะฉะนั้น ขันธ์ซึ่งเป็นของมนุษย์ ที่พวกเธอได้กันแล้ว จัดเป็น
ลาภของพวกท่าน และภาวะเป็นมนุษย์ที่พวกเธอได้แล้วนี้ ก็เป็นขณะ
เป็นสมัยของการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ที่พวกเธอได้. สมจริงดังคำที่
พระโปราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า.
การเจริญมรรคในที่นี้ นี้ก็เป็นกรรมภูมิ ธรรม
เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวชเป็นอันมาก ในที่นี้ก็เป็น
ฐานะอยู่ ท่านเกิดความสังเวชแล้ว ก็จงประกอบ
ความเพียรโดยแยบคายในวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่ง
ความสลดสังเวชเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สํเวคา แปลว่า ความสังเวช.
จบ อรรถกถาขณสูตรที่ 2

3. ปฐมรูปารามสูตร


ว่าด้วยผู้ยินดีในอายตนะ 6 อยู่เป็นทุกข์


[216] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์เป็นผู้มีรูปเป็นที่
มายินดี เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในรูป เพราะรูป
แปรปรวน คลายไปและดับไป เทวดาและมนุษย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์ เทวดา

และมนุษย์เป็นผู้มีเสียงเป็นที่มายินดี. . . . เป็นผู้มีกลิ่นเป็นที่มายินดี. . . .
เป็นผู้มีรสเป็นที่มายินดี. . . . เป็นผู้มีโผฏฐัพพะเป็นที่มายินดี. . . เป็นผู้มี
ธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมารมณ์ เป็นผู้เพลิด-
เพลินแล้วในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรปรวนคลายไปและดับไป
เทวดาและมนุษย์ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนตถาคตผู้เป็น
อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ รู้แจ้งแล้วซึ่งความเกิดขึ้น ความดับไป คุณ
โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่งรูปทั้งหลาย ตามความเป็นจริง
ไม่เป็นผู้มีรูปเป็นที่มายินดี ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในรูป ไม่เป็นผู้เพลิดเพลิน
แล้วในรูป เพราะรูปแปรปรวน คลายไปและดับไป ตถาคตย่อมอยู่เป็น
สุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ รู้แจ้ง
แล้วซึ่งความเกิดขึ้นความดับไป คุณ โทษและอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแห่ง
เสียง . . . . กลิ่น. . . รส . . . . โผฏฐัพพะ . . . .ธรรมารมณ์ ตามความเป็นจริง
ย่อมไม่เป็นผู้มีธรรมารมณ์เป็นที่มายินดี ไม่เป็นผู้ยินดีแล้วในธรรมารมณ์
ไม่เป็นผู้เพลิดเพลินแล้วในธรรมารมณ์ เพราะธรรมารมณ์แปรปรวนไป
คลายไปและดับไป ตถาคตก็ย่อมอยู่เป็นสุข.
ครั้นพระ ผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบ
ลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า
[217] รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และ
ธรรมารมณ์ทั้งสิ้น อันน่าปรารถนา น่าใคร่และ
น่าพอใจ ที่กล่าวกันว่ามีอยู่ประมาณเท่าใด รูปารมณ์
เป็นต้นเหล่านั้นนั่นแล เป็นสิ่งอันชาวโลกพร้อม
ทั้งเทวโลก สมมติว่าเป็นสุข ถ้าว่ารูปารมณ์เป็นต้น

เหล่านั้นดับไปในที่ใด ที่นั้น เทวดา และมนุษย์
เหล่านั้น สมมติว่าเป็นทุกข์ ส่วนว่าพระอริยเจ้า
ทั้งหลายเห็นการดับสักกายะ (รูปารมณ์เป็นต้น
ที่บุคคลถือว่าเป็นของตน) ว่าเป็นสุข การเห็น
ของพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้เห็นอยู่นี้ ย่อมเป็นข้า-
ศึกกับชาวโลกทั้งปวง บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใด
ว่าเป็นสุข พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสิ่งนั้นว่า
เป็นทุกข์ บุคคลเหล่าอื่นกล่าวสิ่งใดว่าเป็นทุกข์
พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้แจ้งสิ่งนั้นว่าเป็นสุข เธอจง
เห็นธรรมที่รู้ได้ยาก คนพาลผู้หลง ไม่รู้แจ้งใน
นิพพานนี้ ความมืดย่อมมีแก่บุคคลผู้ถูกนิวรณ์
หุ้มห่อ เหมือนความมืดมนย่อมมีแก่บุคคลผู้ไม่
เห็น นิพพานย่อมมีแก่สัตบุรุษ เหมือนแสงสว่าง
ย่อมมีแก่บุคคลผู้เห็น ชนทั้งหลายผู้แสวงหา ไม่
ฉลาดในธรรม ถึงอยู่ใกล้ก็ไม่รู้แจ้งธรรมนี้อัน
บุคคลผู้ถูกความกำหนัดในภพครอบงำ ผู้แล่นไป
ตามกระแสตัณหาในภพ ผู้อันบ่วงแห่งมารรัดรึงไว้
แล้ว ไม่ตรัสรู้ได้ง่ายเลย ใครหนอ เว้นจากพระ-
อริยเจ้าทั้งหลายแล้ว ย่อมควรจะตรัสรู้นิพพานบท
ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้โดยชอบ เป็นผู้ไม่มี
อาสวะปรินิพพาน.

จบ ปฐมรูปารามสูตรที่ 3

อรรถกถาปฐมรูปารามสูตรที่ 3


ในปฐมรูปารามสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า รูปสมุทิตา แปลว่า บันเทิงในรูป. บทว่า ทุกฺขา แปลว่า
ถึงทุกข์. บทว่า สุโข แปลว่า ถึงสุข ด้วยสุข ในพระนิพพาน.
บทว่า เกวลา แปลว่า ทั้งสิ้น. บทว่า ยาวตตฺถีติ วุจฺจติ ความว่า
กล่าวว่า มีอยู่ประมาณเท่าใด.โว อักษร ในคำว่า เอเต โว นี้ เป็น
เพียงนิบาต. บทว่า ปจฺจนิกมิทํ โหติ สพฺพโลเกน ปสฺสตํ ความว่า
ความเห็นของบัณฑิตผู้เห็น ย่อมขัดแย้งผิดกับชาวโลกทั้งมวล. จริงอยู่
ชาวโลก สำคัญขันธ์ 5 ว่า เที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตา เป็นของงาม
บัณฑิต สำคัญว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่งาม. บทว่า
สุขโต อาหุ ได้แก่ กล่าวว่า เป็นสุข. บทว่า สุขโต วิทู ความว่า
บัณฑิตทั้งหลาย รู้ว่าเป็นสุข. คำทั้งหมดนี้ ท่านกล่าวหมายเอาพระนิพพาน
ทั้งนั้น.
ในบทว่า สมฺมูฬฺเหตฺถ นี้ ได้แก่ ผู้หลงพระนิพพาน. บทว่า
อวิทฺทสุ ได้แก่ คนเขลาทั้งหลาย. จริงอยู่ เจ้าลัทธิ 5* ลัทธิทั้งหมด
ความสำคัญว่า "พวกเราจักบรรลุพระนิพุพาน" แต่พวกเขา ย่อมไม่รู้
แม้ว่า "ชื่อว่านิพพานคือสิ่งนี้". บทว่า นิวุตานํ ได้แก่ ถูกเครื่องกางกั้น
คือกิเลส หุ้มห่อ ร้อยรัดไว้. บทว่า อนฺธกาโร อปสฺสตํ ได้แก่ ความ
มืดมนย่อมมีแก่ผู้ไม่เห็น. ถามว่า ข้อนั้น ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น. แก้ว่า
1.พม่า เป็น 96